วิทยุสื่อสาร / Radio Communication

ติดต่อฝ่ายขาย

Tel. 0-2692-9700 / Email : sales@worldwide.co.th

วิทยุสำหรับประชาชน
วิทยุสำหรับหน่วยงานราชการ
วิทยุสำหรับนักวิทยุสมัครเล่น

การเลือกซื้อวิทยุสื่อสารแบบง่ายๆ

  • เป็นคำถามที่มักจะถามกันมาบ่อย ๆมากว่าเราสมควรเลือกซื้อวิทยุสื่อสารใหม่ยังไงดีคือค่าสเปค และคุณสมบัติต่างๆในปัจจุบันมีหลากหลายยี่ห้อเราเลยตัดสินใจทำบทความนี้ขึ้นมาเพื่อแนะนำวิธีการเลือกซื้อวิทยุสื่อสารแบบง่ายๆโดยเราจะไม่พูดถึงข้อมูลทางเทคนิคเชิงลึกมากนักเดี๋ยวจะงงกัน???
  • ในการเลือกซื้อวิทยุสื่อสารชนิดมือถือหรือโมบายประจำที่ก็ตามเราต้องตอบตัวเองให้ได้ก่อนว่าจะเอาวิทยุสื่อสารเครื่องนั้น ๆมาทำอะไรวิทยุสื่อสารที่มีจำหน่ายกันใรท้องตลาดบ้านเรา ปัจจุบันมีให้เลือกหลากหลายยี่ห้อ หลายชนิดแบ่งได้ตามประเภทตามนี้

วิทยุสมัครเล่น (144.0000Mhz – 147.0000Mhz )ตัวเครื่องสีดำ

  • สื่อสารชนิดมือถือ ( HandHeld )
  • วิทยุสื่อสารเคลื่อนที่ ( Mobile ) ติดตั้งในรถยนต์
  • วิทยุสื่อสารประจำที่ ( Station ) ติดตั้งในอาคาร บ้านเรือน

วิทยุราชการ (136.0000Mhz – 174.0000Mhz )ตัวเครื่องสีดำและเป็นเครื่องสังเคราะห์คสามถี่ประเภทที่2

  • ประชาชนทั่วไปไม่มีสิทธิ์ใช้งาน ไม่มีสิทธิ์ครอบครองและขออณุญาติใด ๆไม่ได้
  • วิทยุสื่อสารชนิดมือถือ ( HandHeld )
  • วิทยุสื่อสารเคลื่อนที่ ( Mobile ) ติดตั้งในรถยนต์
  • วิทยุสื่อสารประจำที่ ( Station ) ติดตั้งในอาคาร

วิทยุประชาชน ( Citizen Band 245.0000 Mhz – 246.9875 Mhz ) ตัวเครื่องสีแดง

  • วิทยุสื่อสารชนิดมือถือ ( HandHeld )
  • วิทยุสื่อสารเคลื่อนที่ ( Mobile ) ติดตั้งในรถยนต์

ในบทความนี้จะข้อกล่าวอ้างถึงวิทยุเพียงแค่ 3 ประเภทนี้เท่านั้น ส่วนประเภทอื่น ๆ( Aviation Radio , Muti-Band ,UHF 435Mhz-438Mhz ดาวเทียมสำหรับนักวิทยุขั้นกลาง)อาจไม่มีความเกี่ยวข้องกับพวกเราๆชาวนักวิทยุสมัครเล่นขั้นต้นและ การใช้สำหรับภาคประชาชนซักเท่าไรนัก

 4 ข้อควรรู้ก่อนการเลือกซื้อวิทยุสื่อสารในเบื้องต้น

1) ต้องเป็นเครื่องที่ถูกต้องตามกฎหมาย

อย่างแรกที่เราอยากจะแนะนำให้ดูก่อนเลยว่าเครื่องที่ผ่านการอนุญาตจากหน่วยงานราชการกับเครื่องที่ไม่ได้รับการอนุญาติ เพราะการเลือกซื้อเครื่องที่ไม่ได้รับการอนุญาตินั้นมีความเสี่ยงจากการโดนจับจากเจ้าหน้าที่ภายหลัง เนื่องจากเครื่องที่ไม่ได้รับอนุญาติจะไม่สามารถทำใบอนุญาตในการใช้งานอย่างถูกต้องได้เลยเนื่องจากเครื่องเหล่านี้ไม่ได้มีการตรวจสอบคุณภาพของเครื่องและความปลอดภัยต่อผู้ใช้งาน และไม่ได้ขึ้นทะเบียนจาก กสทช.  ซึ่งจะนำไปสู่การถูกจับและปรับสูงสุดถึง 100,000บาท ต่อเครื่องเลยทีเดียว

2) กำลังส่งครอบคลุมพื้นที่ที่ต้องการใช้งาน

อีกข้อที่สำคัญเลยคือกำลังส่งของตัววิทยุสื่อสาร เนื่องจากกำลังส่งจะเป็นตัวกำหนดว่าสามารถส่งได้ไกลเท่าไร ทั้งนี้ก็ต้องขึ้นอยู่กับเสาอากาศด้วยซึ่งเสาสไลด์ก็จะมีเกณฑ์ขยายที่ดีกว่าทำให้วิทยุสื่อสารที่มีกำลังส่งที่สูงยิ่งส่งสัญญาณได้ไกลกว่าเดิม (บางยี่ห้อมีแถมให้ในกล่องเลยไม่ต้องซื้อแยก) โดยปัจจุบันเครื่องที่ได้รับอนุญาตอยู่ที่ 5 Watts แต่ในทางเทคโนโลยีแล้วได้พัฒนาไปมาก ทำให้เกิดเครื่องที่มีกำลังส่งสูงโดยที่ไม่เปลืองแบตเตอรี่ (สอบถามกับทางร้านค้าได้เลยค่ะว่าต้องการเครื่องที่มีกำลังสูง ๆ) และหากท่านต้องการใช้เพียงระยะใกล้ ๆ เช่นภายในร้านอาหารหรือ ซุปเปอร์มาร์เก็ต ก็อาจจะใช้เครื่องที่มีขนาดเล็กก็เพียงพอแล้วเพราะราคาจะย่อมเยามากกว่าเครื่องที่มีกำลังส่งสูงและ ได้รับอนุญาติยกเว้นที่จะไม่ต้องทำใบอนุญาตใช้งานจาก กสทช. อีกด้วย

3) การออกแบบและฟังก์ชันใช้งาน

รูปลักษณ์ก็มีความสำคัญต่อการใช้งานเช่น เครื่องบางเครื่องออกแบบมาขนาดใหญ่เถอะถะไปไม่เหมาะกับการใช้งานที่ต้องการความคล่องตัว หรือปุ่มกดต่าง ๆ ต้องกดง่ายแสดงชัดเจน จอแสดงผลก็ต้องแสดงฟังก์ชันใช้งานที่เข้าใจได้ง่ายและถูกต้อง ส่วนฟังก์ชันที่ถูกออกแบบขึ้นมาก็ต้องมีการออกให้กดใช้งานได้ง่าย ไม่ซับซ้อนในการเลือกใช้ และให้ศึกษาดูว่าเครื่องที่จะเลือกมีความพิเศษอย่างไรเหมาะสมกับการใช้งานของผู้ใช้งานเองมั้ย เช่นมีการรบกวนของสัญญาณในพื้นที่ใช้งานหนาแน่น ก็ควรเลือกวิทยุสื่อสารที่มีฟังก์ชันการรบกวนแบบเด็ดขาดจะได้ไม่รบกวนเวลาสนทนาของคนในกลุ่ม

4) การรับประกันและความน่าเชื่อถือของแบรนด์สินค้า

ในหัวข้อนี้เป็นเรื่องที่ควรให้ความสำคัญมากที่สุด บางท่านเลือกซื้อเพราะเห็นว่าวิทยุสื่อสารนั้นราคาถูก แต่พอใช้งานได้เพียงเดือนหรือสองเดือน ก็เริ่มเกิดปัญหาแต่พอนำเครื่องไปตรวจเช็คก็อาจจะพบว่าไม่รับประกันและต้องทิ้งเครื่องนานเป็นเดือนเพราะไม่มีอะไหล่ซ่อม ซึ่งแทนที่ผู้ใช้จะได้ใช้งานให้คุ้มค่ากับที่ซื้อมากลับพบว่าไม่มีศูนย์บริการที่จะดูแลในอนาคต เข้าตำรา “เสียน้อยเสียมาก เสียยากเสียง่าย” วิทยุสื่อสารเป็นสินค้าเฉพาะที่ต้องการเครื่องมือพิเศษในการตรวจเช็คค่าต่าง ๆ เพื่อความแม่นยำ ผู้ซื้อจึงจำเป็นต้องมองหาวิทยุสื่อสารที่มีความน่าเชื่อถือว่าจะสามารถดูแลเครื่องของท่านได้ยาวนานมากที่สุด ไม่ใช่ซื้อวิทยุมาแล้วต้องมาตามลุ้นว่าเครื่องวิทยุสื่อสารที่ซื้อมานั้นจะใช้ได้นานเท่าไร ถ้าเสียแล้วต้องทำอย่างไร รวมไปถึงอุปกรณ์เสริมต่าง ๆ ต้องเป็นของแท้ที่ถูกออกแบบมาใช้งานกับวิทยุสื่อสารรุ่นนั่น ๆ เสมอ ไม่ใช่เกิดจากการดัดแปลงแล้วใช้งานได้ไม่เต็มประสิทธิภาพ